โรงพยาบาลพิชัย
รู้หรือไม่ 5 มิถุนายน ของทุกปี 🙂
คือวันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day (recycle) เป็นวันด้านสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ นำโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทั่วโลกร่วมกิจกรรมต่างๆ ในวันดังกล่าว เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน เอกชน และภาครัฐให้ตื่นตัวต่อวิกฤติสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และเร่งลงมือร่วมกันแก้ไขปัญหา
สำนักงานฯ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของโลก มาร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อบ้านเพียงหลังเดียวของเรา(earth)…
#GLOรักษ์โลก #GLOZerowaste
กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม
#####################################################
” ยาทากันยุง “
“ยาทากันยุง“
✳️เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ แนะนำประชาชนเกี่ยวกับการเลือกใช้ยาทากันยุง เนื่องจากสารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงมีองค์ประกอบสำคัญทั้งที่เป็นสารสังเคราะห์และสารสกัดจากธรรมชาติ ปัจจุบันยาทากันยุงสามารถหาซื้อได้ทั่วไป มีให้เลือกทั้งแบบเป็นครีม โลชั่น สเปรย์ หรือแป้งกันยุง ซึ่งยาทากันยุงจัดเป็นมาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันการโดนยุงกัดและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค
นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยุงนั้นเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อที่รุนแรงอยู่หลายชนิด เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย เท้าช้าง ชิคุนกุนยา และไข้สมองอักเสบ เป็นต้น สำหรับวิธีการทายาทากันยุงโดยทั่วไปสามารถทาที่ผิวหนังได้เลย แต่ไม่ควรทาบริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก รักแร้ และบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้พ่นที่เสื้อผ้าก็ได้ ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มียากันยุงและยากันแดดผสมอยู่ในขวดเดียวกัน เนื่องจากกันแดดต้องทาซ้ำบ่อย จึงอาจทำให้ได้รับสารทากันยุงในปริมาณที่มากเกินไป ในกรณีที่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดให้ทาครีมกันแดดก่อนแล้วตามด้วยยาทากันยุงทีหลัง นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆที่ช่วยป้องกันยุงได้ เช่น การใส่เสื้อผ้าปกปิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่ถุงเท้ารองเท้าผ้าใบแทนการสวมรองเท้าแตะ ไม่ฉีดน้ำหอมหรือใช้สบู่ที่มีกลิ่นหอมเพราะเป็นกลิ่นที่ยุงชอบ และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ดร. แพทย์หญิงชนิศา เกียรติสุระยานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติม สารสังเคราะห์ที่ใช้บ่อยๆในยาทากันยุงที่สำคัญมี 4 ชนิด ได้แก่ 1.Diethyltoluamide (DEET) เป็นส่วนประกอบหลักของยาทากันยุง มีกลิ่นฉุนที่ยุงไม่ชอบ มีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดได้ยาวนาน แต่อาจระคายเคืองต่อดวงตาและเยื่อบุ DEET